Posts

เติบโตอย่างมีส่วนร่วม ทั่วถึง ในยุค 4.0 ด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม

Image
Inclusive Growth in 4.0 Era with Social Innovation เติบโตอย่างมีส่วนร่วม ทั่วถึง ในยุค 4.0 ด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม การเติบโตและพัฒนาประเทศไทยตามกรอบแนวคิด “ ประเทศไทย 4.0” มีประเด็นที่สำคัญและถูกกล่าวถึงจำนวนมากคือ Inclusive Growth หรือ การเติบโตอย่างมีส่วนร่วม ทั่วถึง เป็นแนวทางสร้างการพัฒนาและเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่มอบโอกาสให้ทุกคนได้รับประโยชน์หรือผลลัพธ์เชิงบวกร่วมกันอย่างทั่วถึง สำหรับประเทศไทยที่ระบบทุนนิยมถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย การเติบโตอย่างมีส่วนร่วมหรือทั่วถึง อาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับการสร้างให้เกิดขึ้นภายใต้กิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจ ขณะที่โครงการภาครัฐก็ไม่สามารถขยายไปได้ทั่วถึงทุกคนในประเทศอย่างแท้จริงจึงมีความจำเป็นที่ภาคธุรกิจต้องเริ่มตระหนักและขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ที่เหมาะสมกว่าที่ผ่านมา ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาให้เกิดการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม ทั่วถึง มีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Growth) ที่ครอบคลุมการบริหารจัดการและสร้างคุณประโยชน์ที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ Inclusive Growth จึงเป็นแนวคิดที่สามารถสร้างความแ

พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของลูกค้ากับทางรอดเหนือการแข่งขันที่รุนแรง

5 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าตลาดออนไลน์ประเทศไทยเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะการนำ Social Media มาทำการค้าหรือสร้างร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Store) สร้างเม็ดเงินมหาศาล หลายคนผันตนเองจากลูกจ้าง ไปสู่เจ้าของกิจการ องค์กรไม่น้อยเข้าสู่ช่องทางออนไลน์และประสบความสำเร็จ แต่ปัจจุบันสถานการณ์ของการแข่งขันดุเดือนรุนแรง การค้าแบบ Red Ocean เกิดขึ้นมากมายบน Social Media เรียกได้ว่าสินค้าที่ไม่แตกต่างกันมากนักห้ำหันกันด้านราคาแบบลดกระหน่ำแหลก ไม่รู้จะเจ๊ง! ตอนไหน เรียกว่ากำไรติดดินสุดๆ หรือบางรายของที่ stock ไว้กองเต็มบ้าน เรียกว่า “แบรนด์ไม่เดิน ขายไม่ออก” กันทีเดียว ทีนี้ด้วยความที่โลกออนไลน์เร็วมาก การทำการตลาดหรือกลยุทธ์บางอย่างจึงรวดเร็วปรานจรวดแต่บางครั้งก็หลงลืมความสำคัญของแบรนด์ หรือตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ก่อให้เกิดความเสียหายกับแบรนด์มากมาย เช่น การนำเสนอข่าวที่ปราศจากการกลั่นกรองความจริง เพียงเพื่อต้องการนำเสนอข่าวที่รวดเร็ว สุดท้ายความจริงปรากฏ นักข่าวแค่ขอโทษ แต่แบรนด์ช่องข่าวนั่นก็พังไปไม่น้อย การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ถึงแม้มันจะเร็วและให้ผลลัพธ์ที่กว้าง ต้นทุนที่ลดลง แต่อย่างลืมว่าแบรนด์กว่าจะสร

การสร้าง "แบรนด์" ที่ลูกค้าชื่นชม (Brand Admiration)

Image
Brand Admiration  เร็วๆ นี้ผมพบงานวิจัยด้านแบรนด์จำนวนหนึ่ง น่าสนใจมากๆ วันนี้จึงมีโอกาสนำมาสรุปแบบเร่งรัดกันครับ Brand Admiration เป็นการสร้างแบรนด์ที่ลูกค้าชื่นชม หรือประทับใจ การจะทำให้ลูกค้าชื่นชมได้สามารถทำได้ด้วยโมเดล 3Es (ภาพ) 1. Enable the Customer 2. Entice the Customer 3. Enrich the Customer  # Enable  คือ การนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ Customer Job หรือ Job to be done ของลูกค้า เช่น ลูกค้าซื้อสินค้าเพราะต้องการให้คนชื่นชมในรสนิยมการบริโภคอุปโภค แบรนด์ต้องทำให้ภาพลักษณ์ของลูกค้าที่ใช้สินค้าเป็นเข่นนั้น ลองพิจารณาพวกแบรนด์สินค้า Hi-end โดยเฉพาะกลุ่ม Fashion เช่น Gucci, Hermes จะเห็นว่าลูดค้าที่ใช้จะมีความรู้สึกที่ดีเวลาใช้งานและคนรอบข้างมองว่าพวกเขามีรสนิยมหรือรวย! เป็นต้น # Entice  คือ การเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เช่นบริการเสริม การตอบสนองข้อเรียกร้องของลูกค้า ซึ่งอาจเกินกว่าการบริการปกติ โดยเฉพาะธุรกิจบริการ เช่น ที่ปรึกษา โรงแรม ร้านอาหารระดับ Hi-End เป็นต้น # Enrich  คือ การทำให้ชวิตลูกค้าดีขึ้น เช่น สินค้าและบริการไปช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต การทำงาน

เรียนรู้แบบ SNIPER

Sniper Method วิธีเก่งไว!!! Sniper Method เป็นการนิยามวิธีการเรียนรู้ของคน ที่แปลงพฤติกรรมของนักล่าอย่าง Sniper Sniper จะค่อยๆ บรรจงเลือกเหยื่อที่มีคุณค่าหรือมีค่ามากที่สุดในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด เช่น การลอบสังหารข้าศึกทางการทหาร Sniper จะเลือกคนที่ยศ ระดับขั้น โดยสังเกตจากสิ่งที่บอกได้ว่าคนนั้นคือคนสำคัญ ในภาพยนตร์ Saving Private Ryan มีฉากหนึ่งที่กล่าวว่าทำไม ทอม แฮงค์ ถึงไม่ใส่หมวกชั้นยศ เพราะจะกลายเป็นเป้าสังหารนั่นเอง Sniper Method คือวิธีการอ่านหนังสือหรือเรียนรู้ที่ผู้อ่านหรือผู้เรียนรู้ เลือกเป้าหมายการอ่านหรือเรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุด โดยประเมินจากกรอบต่างๆ เช่น ความต้องการ ความปรารถนา ความจำเป็น เป็นต้น ในยุคสมัยดิจิทัล การค่อยๆ อ่านหนังสือจากหน้าแรกไปสู่หน้าสุดท้าย อาจทำให้คุณได้ฟิลลิ่งในการอ่าน แต่ด้วยการที่ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว คำถามคือ จะเหมาะสมกับคนในยุคที่เร่งรีบหรือไม่ สิ่งนี้ยากที่จะตอบ Sniper Method จึงเป็นการเรียนรู้ที่เลือกยิง สนใจหรืออ่านเรื่องที่ต้องการก่อน จำเป็นกว่า ทำให้คุณเข้าใจอะไรได้ทั้งหมด และมันเหมาะอย่างมากสำหรับคนที่ต้องการเข้าใจ
Image
SMEs ไทยแท้จริงแล้วมีศักยภาพมากกว่าที่คุณคิด หรือแม้แต่ที่ผู้ประกอบการคิด เพียงแต่พวกเขาขาด Connection & Relationship และขาด Distribution Channel บทความใหม่ของผมในนิตยสารธุรกิจชั้นนำ Business+ เรื่อง "Connection, Relationship แรงส่ง SMEs ไทยเติบใหญ่อย่างยั่งยืน" นำเสนอโมเดลการสร้างโอกาสของการเพิ่มยอดขายผ่านแนวคิด CRD (Connection, Relationship, & Distribution) องค์ประกอบความสำเร็จของการเติบโตทางยอดขายในตลาด AEC ติดตามได้ที่ Business+ เดือนตุลาคม 2559 ครับ ดร.ทอย MVP, A Partner You Can Trust

6 กุญแจแห่งความสำเร็จของ SMEs ไทย

6 กุญแจแห่งความสำเร็จของ SMEs ไทย มิติความพร้อม 6 ด้านของ SMEs ไทยในการเอาชนะความท้าทายของตลาดการค้าเสรีของโลก มิติที่ 1 ที่ปรึกษา SMEs ควรมีที่ปรึกษาที่มีความชำนาญและสามารถสนับสนุน ควบคุมและดำเนินการให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของการค้าเสรีและการพัฒนาแนวคิดความยั่งยืนของการทำธุรกิจ มิติที่ 2 การสร้างเครือข่ายเพื่อความยั่งยืน ธุรกิจในปัจจุบันไม่ได้ใช้แค่นวัตกรรมหรือคุณภาพในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแต่ใช้ เครือข่ายทางธุรกิจในการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันและสร้างโอกาส SMEs ของไทยขาดแคลนส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างอย่างเป็นระบบโดยมีมิติที่ 1 คอยสนับสนุน มิติที่ 3 การเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการที่ดี ผู้ประกอบการ SMEs ต้องเรียนรู้การสร้างภาวะผู้นำในเวทีนานาชาติ การแสดงวิสัยทัศน์ที่มีทั้งจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรม จะส่งผลให้แนวทางการทำงานสนับสนุนไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจอย่างยั่งยืน มิติที่ 4 การวิเคราะห์ตนเองกับธุรกิจ SMEs ไทยจำนวนมาก ไม่เคยวิเคราะห์ตนเองที่เป็นผู้บริหาร คุณต้องมองหาจุดเสียและปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งไม่ทิ้งจุดดีที่มี ต้องพัฒนาให้ถึงเป้าหมายที่เหนื

ก้าวสู่ปีที่ 7 กับอีก 93 ปีข้างหน้าและอีกหลายร้อยปีต่อไป ของ MVP Consultant บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดชั้นนำ

ก้าวสู่ปีที่ 7 กับอีก 93 ปีข้างหน้าและอีกหลายร้อยปีต่อไป MVP Consultant บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดชั้นนำ สารจาก CEO We are MVP, A partner you can trust. เอ็มวีพี คอนซัลท์แทนท์ กำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 อย่างเต็มตัวในอีก 1 เดือนข้างหน้า เราผ่านสถานการณ์และเหตุการณ์ต่างๆ มาจำนวนมาก กับงานที่ปรึกษาให้กับองค์กรชั้นนำของประเทศไทย เช่น 1. กระทรวงอุตสาหกรรม  2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3. ธนาคารแห่งประเทศไทย 4. CAT Telecom 5. การกีฬาแห่งประเทศไทย 6. โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ 7. ร่วมกิจ กรุ๊ป จำนวน 14 บริษัท 8. Doopi Drink 9. สินธรณี พร็อพเพอร์ตี้ และอีกจำนวนมากที่ไม่ได้กล่าวถึง การบริหารจัดการภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรมและศีลธรรมทำให้ MVP มีวันนี้กว่า 7 ปี ของธุรกิจที่ปรึกษา SMEs ที่ก่อตั้งโดย ดร.ทอย ปุญญภณ เทพประสิทธิ์ อดีตที่ปรึกษา FPRI ทีมที่ปรึกษาชั้นนำกระทรวงการคลัง ที่คลุกคลีทำงานกับทีมที่ปรึกษาระดับชาติและนานาชาติ ร่วมกับ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี 7 ปีกับโครงการที่ปรึกษาและวิจัยตลาดมากกว่า 500 โครงการ 7 ปี กับการฟาดฟันการแข่งขันกับองค์กรที่ปรึกษาชั้นนำของโลกอย่าง PWC, Deloitte,