Topic 2 What is the Logistics?

ผู้สนใจหรือผู้ที่ทำงานในวงการด้านนี้สงสัยกันเป็นจำนวนมาก และยังให้คำจำกัดความของโลจิสติกส์ที่ไม่เหมาะสม หลายท่านยังคิดว่าการจัดการโลจิสติกส์เป็นเพียงแค่การขนส่งสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า เท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นคำจำกัดความของโลจิสติกส์กว่า 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ความหมายของโลจิสติกส์ได้เพิ่มน้ำหนักหรือความหนักแน่นทางการจัดการที่มากขึ้นตามกระบวนการหรือกิจกรรมที่ครอบคลุมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งวันนี้ผมจะนำเสนอความหมายที่เหมาะสมและเป็นสิ่งที่ผมเคยได้นำเสนอไว้ในวิทยานิพนธ์ที่ใช้เวลากว่า 4 ปี ในการเขียนขึ้นมาจากการค้นค้วาตำราและงานวิจัยไม่ต่ำกว่า 100 งาน ครับ
 การศึกษาของผมพบว่ามีความหมายหรือคำจำกัดความเกี่ยวกับโลจิสติกส์ (Logistics) ที่มากมายเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ โดยผมได้ทำการแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน โดยใช้เกณฑ์ความใกล้เคียงของลักษณะของความหมาย

ความหมายช่วงที่หนึ่งหรือยุคแรกสุดของคำจำกัดความ "โลจิสติกส์" 
ในช่วงแรกจะอธิบายลักษณะของโลจิสติกส์ถึงเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย และการกระจายสินค้าเป็นหลัก โดย Stone (1968) ได้ให้ลักษณะของความหมายที่ว่าโลจิสติกส์เป็นศิลปะและศาสตร์ของการกำหนดความต้องการให้ได้มาซึ่ง การกระจายสินค้าและท้ายที่สุด เป็นการรักษาไว้ของเงื่อนไขความพร้อมในการปฏิบัติการ เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์ ซึ่งลักษณะของความหมายมีความใกล้เคียงกับ เฮสเกต, กลาสโคว์สกี และไอวี (1973) (อ้างถึงในทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์, 2550) ที่กล่าวว่าโลจิสติกส์เป็นการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและการประสานงานของอุปทานและอุปสงค์ในเวลาที่กำหนด และการใช้ประโยชน์ของสถานที่ จะเห็นได้ว่าความหมายในช่วงแรกที่ได้มีการนำเสนอในมุมมองของการกระจายสินค้าซึ่งโดยนัยสำคัญคือ การเคลื่อนย้ายยังพบว่ามีนัยสำคัญแฝงอยู่อีกหนึ่งคำที่เป็นหัวใจสำคัญคือคำว่า สมดุล (Balance) เนื่องจากกิจกรรมของการเคลื่อนย้าย และการกระจายสินค้าในความหมายที่ได้นำเสนอจะเห็นว่าต้องทำให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข และเพื่อความสมบูรณ์ ซึ่งให้ความหมายเช่นเดียวกับการที่ต้องประสานงานอุปทานและอุปสงค์ให้อยู่ภายในเวลาที่กำหนด เปรียบเสมือนตาชั่งที่จะต้องมีการออกแบบให้น้ำหนัก และสัดส่วนที่มีความสมดุล และพอดี ถึงจะทำหน้าที่ชั่งน้ำหนักได้อย่างถูกต้องแม่นยำนั่นเองนัยสำคัญของคำแฝงที่ว่า สมดุล นั้น ไม่ได้อธิบายแค่ความหมายของโลจิสติกส์ ปัจจุบันคำนี้จะพบเห็นในทุกกิจกรรมของการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) ซึ่งจะเป็นหัวข้อการเขียนต่อไปครับ

ความหมายช่วงที่สองหรือยุคก่อนบูรณาการกิจกรรมทั้งหมดของคำจำกัดความ "โลจิสติกส์"
จากยุคแรกที่ได้สรุปไว้ก่อนหน้านี้ว่า โลจิสติกส์ คือคำว่า การกระจายสินค้า การเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะคำว่าสมดุล (Balance) ที่แฝงอยู่ในความหมาย ในยุคนี้จะมีการนำความหมายเหล่านี้มาขยายความด้วยการอธิบายให้มีความละเอียดและชัดเจนที่มากขึ้นและมีการเพิ่มเติมกิจกรรมที่เข้าข่ายลงไปในความหมายที่ได้มีการเผยแพร่ออกไปสู่สาธรณชน เช่นคำว่า เคลื่อนย้ายมีการให้ความหมายที่ละเอียดขึ้น โดยจะเป็นการเคลื่อนย้ายจากแหล่งวัตถุดิบเข้าไปสู่กระบวนการผลิต ซึ่งโดยนัยรวมถึงการเคลื่อนย้ายจากสายการผลิตไปสู่ลูกค้าด้วย โดยอาจจะผ่าน กระบวนจัดเก็บ หรือไม่ก็ได้ซึ่งจะแตกต่างกันตามการดำเนินงานของแต่ละธุรกิจ เป็นต้น อีกสิ่งหนึ่งที่เริ่มพบได้ในเนื้อความของความหมาย คือกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินงานของโลจิสติกส์ที่จะถูกแบ่งออกเป็นโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) กระบวนการผลิต (Process)  และโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) ซึ่งเป็นการนำกิจกรรมของโลจิสติกส์มากระจายและจัดกลุ่มให้เหมาะสมตามหน้าที่ก่อนและหลัง หรือลำดับความสำคัญ ในยุคที่สองนี้ ผมจะขอนำเสนอความหมายจากองค์กรระดัลสากล และนักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับดังนี้ครับ 

Chartered Institute of logistics and transport (CILT) (2005) โลจิสติกส์ คือ การวางตำแหน่งของทรัพยากรให้ถูกเวลา ในสถานที่ที่ถูกต้อง ในราคาและปริมาณที่เหมาะสม

Council of Supply Chain Management Professional (CSCMP) (2006) โลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของซัพพลายเขนซึ่งเป็นกระบวนการในการวางแผน การนำเสนอ และการควบคุมการไหลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการเก็บสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นในการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

Ruston and  Walker (2007) โลจิสติกส์ คือ กระบวนการที่เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการและการจัดการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงคลังที่เป็นสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วกับสินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต ร่วมถึงการร่วมมือในด้านข้อมูล จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการบริโภค

จากยุคแรกที่ได้สรุปไว้ก่อนหน้านี้ คือคำว่า การกระจายสินค้า การเคลื่อนย้าย และคำว่า สมดุล (Balance) สำหรับยุคที่สองได้มีการนำความหมายเหล่านี้มาขยายความด้วยการอธิบายให้มีความละเอียดและชัดเจนที่มากขึ้นและมีการเพิ่มเติมกิจกรรมที่เข้าข่ายลงไปในความหมายที่ได้มีการเผยแพร่ออกไปสู่สาธรณชน เช่นคำว่า เคลื่อนย้ายมีการให้ความหมายที่ละเอียดขึ้น โดยจะเป็นการเคลื่อนย้ายจากแหล่งวัตถุดิบเข้าไปสู่กระบวนการผลิต ซึ่งโดยนัยรวมถึงการเคลื่อนย้ายจากสายการผลิตไปสู่ลูกค้าด้วย โดยอาจจะผ่าน กระบวนจัดเก็บ หรือไม่ก็ได้ซึ่งจะแตกต่างกันตามการดำเนินงานของแต่ละธุรกิจ เป็นต้น อีกสิ่งหนึ่งที่เริ่มพบได้ในเนื้อความของความหมาย คือกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินงานของโลจิสติกส์ที่จะถูกแบ่งออกเป็น โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) กระบวนการผลิต (Process)  และโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics

ความหมายช่วงที่สามหรือยุคบูรณาการของคำจำกัดความ "โลจิสติกส์"




จากที่กล่าวข้างต้นจะมีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่ทำให้ การจัดการโลจิสติกส์ในยุคบูรณาการที่ถูกผนวกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการซัพพลายเชน คือคำว่า จุดเริ่มต้น และจุดการบริโภค หรือที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดีในอีกคำหนึ่งคือ ต้นน้ำและปลายน้ำ ซึ่งสองคำนี้เป็นคำสำคัญที่จะบอกกล่าวคำว่าซัพพลายเชนเป็นอย่างไร ทำให้ภายหลังจะเห็นได้ว่าความหมายของโลจิสติกส์ไม่ได้แตกต่างจากซัพพลายเชนมากนักและค่อนข้างชี้ให้เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนเข้าไปทุกขณะ ความหมายต่างๆที่ได้มีการบัญญัติเอาไว้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยในอดีตความหมายจะถูกบอกกล่าวว่าโลจิสติกส์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระจายสินค้า หรือการเคลื่อนย้าย ต่อมาความหมายได้เริ่มมีการขยายขอบเขตออกไปมากขึ้นโดยเริ่มจากการแตกตัวของคำว่ากระจายสินค้า ทำให้ได้ความหมายของโลจิสติกส์ที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ จากคำว่ากระจายสินค้าและการเคลื่อนย้าย ขยายขอบเขตออกมาเป็น การวางแผน การเคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิต ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงการบริหารข้อมูลสารสนเทศตั้งแต่จุดเริ่มต้นหรือจุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภค ทั้งหมดกระทำเพื่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า  ซึ่งความหมายของนักการจัดการและสถาบันๆ ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงตามที่กล่าวมา จากที่กล่าวข้างต้นจะมีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่ทำให้ การจัดการโลจิสติกส์ในยุคต่อมาถูกผนวกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการซัพพลายเชน คือคำว่า จุดเริ่มต้น และจุดการบริโภค หรือที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดีในอีกคำหนึ่ง คือ ต้นน้ำและปลายน้ำ ซึ่งสองคำนี้เป็นคำสำคัญที่จะบอกกล่าวคำว่าซัพพลายเชน เป็นอย่างไร 

ทำให้ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าความหมายของโลจิสติกส์ไม่ได้แตกต่างจากซัพพลายเชนมากนักและค่อนข้างชี้ให้เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนเข้าไปทุกขณะ ผมมีทัศนะว่าในอนาคตเมื่อการทำธุรกิจการค้าเข้าสู่การเป็นการค้าระดับโลก (Global Trade) อย่างเต็มรูปแบบ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายไปทั่วโลกอย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น ผู้จำหน่ายวัตถุดิบอยู่ที่ประเทศหนึ่ง ผู้ผลิตอยู่อีกประเทศ และนำสินค้าที่ผลิตได้ขายไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกโดยอาจจะใช้วิธีการส่งออกทางตรงหรือมีตัวแทนส่งออก ตัวแทนจำหน่าย ก็อาจเป็นได้ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในประเทศนั้นๆ คำว่า    โลจิสติกส์อาจจะถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว และอาจส่งผลให้มีการเรียกคำว่าโลจิสติกส์น้อยลงหรือหายไปจากสารระบบก็อาจเป็นได้ เพราะความหมายของซัพพลายเชนได้ครอบคลุมกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด หรือแม้แต่คำสำคัญอีกหนึ่งคำของซัพพลายเชน คือคำว่าเครือข่าย (Network) ก็จะถูกพบอยู่ในทุกๆกิจกรรรมขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่งหรือส่งมอบ ตลอดจนการบริการลูกค้า ทั้งหมดจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายในการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตัวอย่างเช่น กิจกรรมด้านการผลิตขององค์กรจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายเชื่อมโยงกันระหว่างกิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้า และกิจกรรมโลจิสติกส์ขาออก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานการผลิต ฉะนั้นคำสำคัญของการจัดการซัพพลายเชนทั้ง 3 คำ คือ ต้นน้ำ, ปลายน้ำ  และเครือข่าย จึงพบเห็นได้ในความหมายของโลจิสติกส์ตามแนวคิดทฤษฎีต่างๆและพบเห็นได้ตามกิจกรรมโลจิสติกส์ ทำให้ชี้ชัดได้ว่าการจัดการโลจิสติกส์นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการซัพพลายเชน

ดังนั้น โลจิสติกส์จึงมีความหมายโดยสรุปว่า คือการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนในกระบวนการโลจิสติกส์ขาเข้า เช่น การจัดหา จัดซื้อ เคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ และการส่งผ่านและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังฝ่ายผลิตให้ดำเนินการตามการวางแผนทั้งเรื่องของปริมาณการผลิต ระยะเวลา และวิธีการดำเนินการ และยังรวมไปถึงการจัดการโลจิสติกส์ขาออกที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนในการกระจายสินค้า บริหารสินค้าคงคลัง การขนส่ง การดึงความต้องการของลูกค้าเพื่อนำไปวางแผน และการบริการลูกค้า โดยดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประสิทธิผลทั้งเรื่องของคุณภาพ เวลาการส่งมอบสินค้า สถานที่ส่งมอบตามที่ลูกค้าต้องการให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยการดำเนินงานทั้งขั้นตอนทั้งหมดจะดำเนินการโดยให้มีต้นทุนต่อหน่วยของยอดขายต่ำที่สุดหรืออยู่ในเกณฑ์ยอมรับ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการเพิ่มคุณค่าและยกระดับให้กับการบริการลูกค้า

By Punyapon Tepprasit (ปุญญภณ เทพประสิทธิ์)

Comments

Popular posts from this blog

การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analysis)

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (Product Component)

Distribution Model