Posts

Showing posts from October, 2013

Multi Channel Approach

การเข้าถึงลูกค้าแบบหลายช่องทาง เป็นกลยุทธ์ในการมุ่งสนองตอบลูกค้าแบบทันต่อเหตุการณ์ ทำให้ลูกค้าเกิดทางเลือกในการซื้อสินค้าที่หลากหลายช่องทาง เช่น Brick ซึ่งเป็นช่องทางร้านค้า Click การซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น website Flip ซื้อผ่าน Catalog หรือ E-Mail

Customer Based Brand Equity Theory

Customer Based Brand Equity Theory จะประกบไปด้วย 1 การวางแผนการสร้าง Brand Equity ต้องก่อให้เกิดเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ของธุรกิจ (Brand Identity / Brand Awareness)  2 การปฎิบัติการในการสื่อสาร Brand จากธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่องค์กรจะต้องนำการสื่อสารเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ของธุรกิจไปยังภายนอกเพื่อให้เกิดคุณค่าต่อแบนด์ (Brand Awreness / Brand Preference / Brand Loyalty)  3 การประเมินผล ความสำเร็จจากการบริหารจัดการเพื่อสร้าง Brand จะต้องทำการประเมินความภักดีของลูกค้า ความไว้วางใจจากลูกค้าและมิตรภาพที่ได้รับ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนคุณค่าระหว่างกัน  (Brand Loyalty / Brand Trust)

Internet Marketing

ทั้งนี้ Internet Marketing ก่อให้เกิดการทำ online Marketing โดยการนำอินเทอร์เฯ็ตมาสนับสนุนการทำการตลาดและการเพิ่มช่องทางการสื่อสารหรือการขายสินค้า :ซึ่งJensen (2007) ที่ได้มีการสร้าง ตัวแบบทางความคิดของการสื่อสารทางตลาดออนไลน์ (Conceptual model of prioritization and potential of OMC ) ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1 . โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) จะมีตัวชี้วัดที่สำคัญ 3 ตัว ได้แก่ 1.1 การแสดงโฆษณาออนไลน์ เช่น แบนเนอร์ (Banner) ป๊อป-อัพ (Pop-up) และโฆษณาแทรก ( interstitials ) เป็นต้น ( Cathy, H., Neil, D., & Fiona, E. C., 2000 ). 1.2 Search engine optimization (SEO) การปรับแต่งเว็บไซต์ และกระบวนการต่างๆ ของเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบ เขียนโปรแกรม และการโปรโมทเว็บ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine ( เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, MSN, Yahoo, AOL เป็นต้น) 1.3 With affiliate programs หรือการรวบรวมเชื่อมโยงเว็บไซต์ของนักการตลาดบนเว็บไซต์ทางธุรกิจ ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์ทางธุรกิจก็จะได้รับค่านายหน้า (Commission) เมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์และได้ทำการเข้าชมไปยังเว็บไซ

Service Marketing

การตลาดบริการ คือการทำการตลาดให้กับการบริการที่ลูกค้าหรือผู้บิโภคไม่สามารถจับต้องสินค้าได้ ซึ่งธุรกิจบริการกำลังก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งธุรกิจซื้อขายสินค้า ย่อมต้องมีการบริการเพื่อสร้างความแตกต่างหรือรักษาฐานลูกค้าเดิม ตลอดจนสร้างความได้เปรียบของการแข่งขัน ทั้งนี้ คุณลักษณะสำคัญของบริการ (Attributes of services)  1. ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangibility) บริการไม่สามารถมองเห็น รู้สึก หรือสัมผัสได้เหมือนกับสินค้าโดยทั่วไป  2. ไม่สามารถแบ่งแยกได้ (Inseparability) ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้า (tangible goods) การผลิตและการบริโภคจะแยกออกกันอย่างชัดเจน แต่บริการจะไม่สามารถแบ่งแยกกระบวนการผลิตและการบริโภคออกจากกันได้  3. ไม่แน่นอน (Variability) บริการจะมีความไม่แน่นอน ในส่วนของกระบวนการผลิต และผลที่ได้รับเนื่องจากบริการมีความยุ่งยากในการควบคุมและตรวจสอบมาตรฐานให้มีความสม่ำเสมอ เช่น การบริการทำความสะอาด คำว่าสะอาดในมิติต่างๆ ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน 4. บ ริการมีความแตกต่างจากสินค้าอีกประการหนึ่ง ก็คือไม่สามารถผลิตเก็บเอาไว้ได้ มีบริการน้อยประเภทมากที่จะมีความต้องกา

Sale Force

การขายโดยพนักงานขาย เป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับการตลาด ซึ่งพนักงานขายจะมีความสำคัญต่อองค์กรเพราะจะเป็นผู้นำเสนอสินค้าและบริการไปยังกลุ่มผู้บริโภคโดยตรงซึ่งเป็นแบบ บุคคลต่อบุคคล (Person-to-person communication) พนักงานขายที่ดีจะต้องคาดหวังกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการจะได้ยิน หรือคาดหวังในตัวสินค้าและบริการเพื่อที่จะนำเสนอได้อย่างเหมาะสมและเกิดคุณค่าร่วมกัน  ทั้งนี้การขายโดยพนักงานขายเป็นกระบวนการ ติดต่อสื่อสารสองทาง (Two-way communication process) พนักงานขายจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในสินค้าและผู้ซื้ออย่างชัดเจน และสามารถประมวลผลและตัดสินใจได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ 

Advertising

การโฆษณา (Advertising) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลหรือแจ้งข้อมูลให้กลุ่มเป้าหมายทราบถึงการมีอยู่ของสินค้าและบริการขององค์กร ตลอดจนกระตุ้นความต้องการ  การโฆษณาในปัจจุบันสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ สื่อ Outdoor เป็นต้น การทำโฆษณานั้นองค์กรสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองหรือจ้าง Outsource ที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการก็ย่อมทำได้ การโฆษณาที่ดีในปัจจุบันควรคำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรมของโฆษณา เช่น ไม่ควรโจมตีคู่แข่งขันว่าไม่ดีอย่างไร แต่ให้ใช้มุมมองว่าสินค้าของเรามีดีและจุดเด่นอะไรที่สินค้าอื่นไม่ดี แสดงให้เห็นว่าสินค้าอื่นดี แต่สินค้าขององค์กรมีดีกว่า หรือไม่ควรโฆษณาหลอกหลวงผู้บริโภคด้วยข้อความเท็จ หรือเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่สามารถทำได้ ลักษณะของการโฆษณามีดังนี้  1. การโฆษณาเป็นการสื่อสารจูงใจ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อโดยวิธีการพูด การเขียนหรือการสื่อความหมายใด ๆ ที่มีผลให้ผู้บริโภคเป้าหมาย คิดคล้อยตาม กระทำตามหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามที่ผู้โฆษณาต้องการ  2. การโฆษณาเป็นการจูงใจด้วยเหตุผลจริงและเหตุผลสมมติ  การจูงใจโดยบอกคุณสมบัติทีjเป็นป

Promotion

การส่งเสริมการขาย มีความสำคัญและดำเนินเพื่อกระตุ้นยอดขาย ณ ช่วงเวลาหนึ่ง หรือการแนะนำผลิตภัณฑ์ให้ตลา ดและผู้บริโภคได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งการนำเสนอเพื่อสร้างความคุณค่าในตราสินค้า การส่งเสริมการขายสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการสื่อสารจากองค์กรไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งจะมีส่วนประสมของการส่งเสริมการขายดังนี้ 1.  การโฆษณาเพื่อผู้บริโภค (Target Audience ) องค์กรจะต้องพิจารณากลุ่มเป้าหมายกับเครื่องมือสื่อที่จะใช้ซึ่งต้องให้เหมาะสมและสอดคล้อง ต้องมีวัตถุประสงค์ของการโฆษณา การเลือกใช้สารที่เหมาะสม 2. การขายโดยใช้พนักงานขาย เป็นการติดต่อสื่อสารข้อมูลโดยใช้บุคคลเพื่อจูงใจให้ซื้อบางสิ่ง ทำให้เกิดการสื่อสารแบบสองทิศทาง และกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นและตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องมีการอธิบายหรือแสดงวิธีการใช้งาน 3. การส่งเสริมการขาย หมายถึง การใช้เครื่องมือทางการตลาดต่างๆ เพื่อการสื่อเชิญชวนให้เกิดการซื้อสินค้าและบริการ เช่น การให้ทดลองใช้ หรือการลดราคา เป็นต้น 4. การประชาสัมพันธ์ (Public Relation : PR) เป็นการสื่อสารถึงเจตคต

New Product Development

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถแบ่งได้เป็น 1. การพัฒนานวัตกรรม (Innovation) หมายถึงการคิดค้นขึ้นมาใหม่ ในตำรา Blue Ocean Strategy จะกล่าวว่าการพัฒนานวัตกรรมจะต้องพิจารณา Cost and Value หากมีความสอดคล้องเหมาะสมนวัตกรรมย่อมเกิดขึ้น โดย Cost เป็นการมองมุมมองของผู้ขาย และ Value มองมุมมองคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ 2. การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ (Modified) คือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีประสิทธิภาพหรือคุณค่าที่มากขึ้น เช่น Iphone 5 เป็น 5S 3. การลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ (Me-Too) เป็นการลอกเลียนสิ่งที่มีอยู๋ในตลาด ซึ่งจะพบว่ามีสินค้า House Brand จำนวนมาก เช่น โทรศัพท์มือถือที่ใช้วิธีการนี้ แหล่งข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นจาก 2 แหล่ง 1. ภายในองค์กร เช่น พนักงานฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ผู้บริหาร เป็นต้น ซึ่งกลุ่มที่ใกล้ชิดผลิตภัณฑ์จะมองเห็นคุณค่าและช่องว่างที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป 2. ภายนอกองค์กร เช่น ลูกค้า ซึ่งสามารถรับรู้ข้อมูลได้ด้วยวิธีการสอบถามจากฝ่ายขาย หรือการทำวิจัยตลาด Supplier ซึ่งจะเข้าใจในวัตถุดิบที่ส่งมอบองค์กรและสามารถให้ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การพัฒนาได้ เป็นต้น

Marketing Strategy

กลยุทธ์การตลาด เครื่องมือการตลาดที่ใช้กำหนดกลยุทธ์การตลาดที่คุ้นเคยกันมากที่สุดคือ 4P's หรือ 7P's ประกอบไปด้วย 1. Product หมายถึงผลิตภัณฑ์ ซึ่งองค์กรจะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็น Order Qualifier คือ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายได้หรือแข่งขันได้ และหากพัฒนาจุดเด่นอย่างชัดเจนจะทำให้กลายเป็น Order Winner หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับในตลาดและผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด 2. Price การกำหนดราคาจะต้องกำหนดราคาโดยคำนึงถึงระดับราคาที่ลูกค้าจะจ่าย กลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อ ซึ่งจะทำให้สามารถกระตุ้นการซื้อได้อย่างเหมาะสม 3. Place ช่องทางการจัดจำหน่าย จะต้องเลือกช่องทางที่เหมาะสมและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ เพื่อให้สามารถมีสินค้าและบริการพร้อมเสมอเมื่อผู้บริโภคต้องการ 4. Promotion การส่งเสริมการขาย จะต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้าและสินค้าและบริการให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงเวลาที่เหมาะสม 5. People คน ในธุรกิจบริการมีความสำคัญอย่างมากเพราะคนจะมีหน้าที่บริการและเผชญหน้ากับกลุ่มลูกค้า ความสามารถและความเป็นมืออาชีพจะสร้างให

Organization Behavior

พฤติกรรมองค์กร มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะทำให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กร หรือคนในองค์กร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรก้าวไปสู่การได้เปรียบทางการแข่งขันและประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ  สาระสำคัญของพฤติกรรมองค์กรจะประกอบไปด้วย 1. ปัจเจกบุคคล ได้แก่ ค่านิยม ความพึงพอใจ แรงจูงใจ ความเครียด ทัศนคติของคนที่มีต่องาน การเรียนรู้ของคน และการรับรู้ค่าค่า 2. การทำงานเป็นทีม ได้แก่ การสร้างความร่วมมือในทีม การแบ่งปันข้อมูล ภาวะผู้นำ การจัดการความขัดแย้ง การมอบอำนาจ เป็นต้น 3. องค์กร ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร การจัดการเปลี่ยนแปลง วิสัยัทัศน์ขององค์กร  การแบ่งปันคุณค่าร่วมกันทั้งองค์กร ทั้งนี้พฤติกรรมองค์กรจะเป็นผลดีและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้กับองค์กรได้หรือไม่จะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์กร หากมีวัฒนธรรมที่ดีเหมาะสม เช่น บุคลากรชอบการเรียนรู้ มุ่งมั่นไปในวิสัยทัศน์เดียวกัน ย่อมทำให้เป็นองค์กรที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมและามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของบุคลากรจนนำไปสู่การก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรต่อไป

Customer Behavior

พฤติกรรมผู้บริโภค หากจะเข้าใจให้ชัดเจนต้องทำการศึกษา Stimulus Model  จุดเริ่มต้นของโมเดลนี้อยู่ที่มีสิ่งกระตุ้น (Stimulus) ให้เกิดความต้องการและนำไปสู่การตอบสนอง (Response) โดยมีรายละเอียดของทฤษฎีดังนี้ 1. สิ่งกระตุ้น (Stimulus) สิ่งกระตุ้นอาจเกิดขึ้นเองจากภายในร่างกาย (Inside stimulus) และกระตุ้นจากภายนอก (Inside stimulus) นักการตลาดจะต้องสนใจและจัดสิ่งกระตุ้นภายนอก เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ สิ่งกระตุ้นถือว่าเป็นเหตุจูงใจให้เกิดการซื้อสินค้า (Buying motive) ซึ่งอาจใช้เหตุจูงใจซื้อด้านเหตุผล และใช้เหตุจูงใจให้ซื้อด้านจิตวิทยา (อารมณ์) ก็ได้ สิ่งกระตุ้นภายนอกประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1.1 สิ่งกระตุ้นทางการตลาด (Marketing stimulus) เป็นสิ่งกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมการตลาด (Marketing mix) ประกอบด้วย Product Price Place Promotion 1.2 สิ่งกระตุ้นอื่นๆ (Other stimulus) เป็นสิ่งกระตุ้นความต้องการผู้บริโภคที่อยู่ภายนอกองค์การซึ่งบริษัทควบคุมไม่ได้ สิ่งกระตุ้นเหล่านี้ได้แก่ Politic and Legal Economic Cultural Technological                             2. กล

Price

การกำหนดราคาสินค้า และบริการในอดีต ทุกองค์กรอาจกำหนดโดยใช้หลักการง่ายๆ เช่น 1. การตั้งราคาต่ำ เพื่อใช้ความได้เปรียบด้านต้นทุน หรือการเข้าสู่ตลาดของสินค้าและบริการใหม่ๆ  2. การตั้งราคาสูง เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อเยอะ  3. การตั้งราคาที่เทียบเท่ากับคู่แข่งขัน เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบซื้อ ซึ่งต้องมั่นใจว่าสินค้าและบริการของตนเองให้มากกว่าในราคาที่เท่ากัน  ทั้งนี้การตั้งราคามีขั้นตอนดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ในการตั้งราคา ต้องดูเป้าหมายว่าจะมุ่งเน้นปริมาณการขาย กำไร หรือการแข่งขัน สังคม หรือภาพลักษณ์ ต้องเลือกวัตถุประสงค์ให้ชัดก่อนตั้งราคา 2. พยากรณ์ความต้องการซื้อ ณ ระดับราคาที่จะขายเพื่อที่จะเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ของ Demand & Supply และคาดการณ์ยอดขายที่จะเกิดขึ้น 3. ต้องทราบต้นทุนการผลิตและการขาย และต้นทุนรวมทั้งหมดขององค์กร 4. วิเคราะห์ต้นทุนของคู่แข่งขัน ตลอดจนราคาขายและสัดส่วนกำไรที่คู่แข่งขันจะได้รับต่อ SKU 5. กำหนดวิธีการตั้งราคาที่นำเสนอไว้ข้างต้น 6. ตัดสินใจเลือกราคาขั้นสุดท้าย ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ่วนและรอบคอบด้วยข้อมูลที่เพียงพอ

Product

ผลิตภัณฑ์ สามารถจำแนกได้ 2 แบบ ได้แก่  1. สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งจะมีทั้งสินค้าสะดวกซื้อ เจาะจงที่จะซื้อ ไม่แสวงซื้อแต่ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการซื้อ สินค้าเปรียบเทียบซื้อ ที่มีการพิจารณาคุณสมบัติหรือราคา 2. สินค้าอุตสาหกรรม เช่น วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ อะไหล่ สินค้าสิ้นเปลืองที่ใช้ในโรงงาน ใช้ในการผลิต  ทั้งนี้ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์แบบเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. ความกว้างของสายผลิตภัณฑ์  2. ความยาวของสายผลิตภัณฑ์  3. ความลึกของสายผลิตภัณฑ์  4. ความสอดคล้องของสายผลิตภัณฑ์  ทั้ง 4 จะเป็นประเด็นที่สร้างโอกาสในการขายสินค้าให้กับองค์กรในตลาดว่าสินค้าขององค์กรจะสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้หรือไม่ นอกจากนี้สำหรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ยังต้องพิจารณาบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องเลือกระหว่างความเหมาะสมด้านต้นทุน ความสวยงามหรือความคุ้มค่าของบรรจุภัณฑ์ สลากข้างบรรจุภัณฑ์ต้องบอกรายละเอียดครบถ้วนตามกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือ  

Customer Relationship Management (CRM)

Image
จากการเข้ารลาสเรียนปริญญาเอกวันนี้ คุณบอยได้นำเสนอเรื่อง CRM เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมขององค์กรให้เกิดความประทับใจ ภักดี และซื้อสินค้าขององค์กรต่อไป ซึ่งพบว่า มีโมเดลที่น่าสนใจสำหรับการทำ CRM ชื่อว่า DEAR Model ประกอบไปด้วย D = DATABASE องค์กรจะต้องมีฐานข้อมูลลูกค้าจำแนกรายละเอียดของลูกค้าให้ชัดเจน E = ELECTRONIC มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสนับสนุนการทำ CRM และจัดเก็บข้อมูลลูกค้า รวมทั้งการนำมาใช้และการประมวลผล A = ACTION การกำหนดโปรแกรมการตลาด และการจัดให้มีกิจกรรมสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล R = Retention Brand Loyalty ต้องมีการประเมินผลกิจกรรมและรักษาความเติบโตของความสัมพันธ์กับลูกค้า

Distribution

Image
การกระจายสินค้า หรือ Distribution ไม่ใช่เป็นเพียงการกระจายสินค้าสำเร็จรูปไปยังตลาดเป้าหมายเท่านั้น ในซัพพลายเชน จะมีการกระจายสินค้าตั้งแต่ Supplier โดย Supplier จะมีการกระจายสินค้าไปยังผู้ซื้อของตน ซึ่งจากภาพจะเห็นว่า Supplier tier 2 กระจายสินค้าไปยัง Supplier tier 1 เพื่อที่จะมีการนำไปแปรรูป ผลิต ประกอบและส่งไปยังผู้ผลิต ทั้งนี้ผู้ผลิตมีโรงงานที่ไทยและมาเลเซีย ทำให้มีการตั้งศูนย์กระจายสินค้าเพื่อรวบรวมวัตถุดิบจาก Supplier tier 1 & 2 ก่อนที่จะกระจายสินค้าไปยังโรงงานผลิตของตนเอง เมื่อองค์กรมีการผลิตสินค้าเรียบร้อยจะมีการเก็บสินค้าในคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าเพื่อที่จะมีการดำเนินการ เช่น การบรรจุภัณฑ์ , การหยิบจับสินค้าจากชั้นเก็บสินค้า, การวางแผนการกระจายสินค้า การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งการส่งมอบของสินค้า อาจมีการกระจายสินค้าได้สามช่องทาง ได้แก่ กระจายสินค้าไปยังผู้ค้าส่ง ซึ่งจะมีการกระจายต่อไปยังผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ขณะเดียวกันองค์กรบางองค์กรอาจมีการกระจายสินค้าไปยังกลุ่มผู้ค้าปลีกด้วยก็ได้นอกจากนี้บางกรณีอาจมีการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคโดยตรง เช่น การจัดมหกรรม