Price

การกำหนดราคาสินค้า และบริการในอดีต ทุกองค์กรอาจกำหนดโดยใช้หลักการง่ายๆ เช่น

1. การตั้งราคาต่ำ เพื่อใช้ความได้เปรียบด้านต้นทุน หรือการเข้าสู่ตลาดของสินค้าและบริการใหม่ๆ 
2. การตั้งราคาสูง เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อเยอะ 
3. การตั้งราคาที่เทียบเท่ากับคู่แข่งขัน เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบซื้อ ซึ่งต้องมั่นใจว่าสินค้าและบริการของตนเองให้มากกว่าในราคาที่เท่ากัน 

ทั้งนี้การตั้งราคามีขั้นตอนดังนี้

1. วัตถุประสงค์ในการตั้งราคา ต้องดูเป้าหมายว่าจะมุ่งเน้นปริมาณการขาย กำไร หรือการแข่งขัน สังคม หรือภาพลักษณ์ ต้องเลือกวัตถุประสงค์ให้ชัดก่อนตั้งราคา
2. พยากรณ์ความต้องการซื้อ ณ ระดับราคาที่จะขายเพื่อที่จะเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ของ Demand & Supply และคาดการณ์ยอดขายที่จะเกิดขึ้น
3. ต้องทราบต้นทุนการผลิตและการขาย และต้นทุนรวมทั้งหมดขององค์กร
4. วิเคราะห์ต้นทุนของคู่แข่งขัน ตลอดจนราคาขายและสัดส่วนกำไรที่คู่แข่งขันจะได้รับต่อ SKU
5. กำหนดวิธีการตั้งราคาที่นำเสนอไว้ข้างต้น
6. ตัดสินใจเลือกราคาขั้นสุดท้าย ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ่วนและรอบคอบด้วยข้อมูลที่เพียงพอ


แต่ปัจจุบันการกำหนดราคาหาใช่องค์กรจะกำหนดราคาโดย Mark up ความต้องการกำไรได้ แต่ควรพิจารณาว่าลูกค้ามีกำลังซื้อและพร้อมที่จะจ่ายในระดับราคาเท่าใด จะช่วยให้การกำหนดราคาเกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล และกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ


Comments

Popular posts from this blog

การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analysis)

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (Product Component)

Distribution Model