การเงินต้องรู้กับ SMEs "รู้แค่เรื่องเดียว SMEs ก็รอด!!!"

การเงินต้องรู้กับ SMEs
รู้แค่เรื่องเดียว SMEs ก็รอด!!!

SMEs ของไทยส่วนใหญ่ทำธุรกิจแบบลุย ลุยและลุย เหมือนวิ่งเข้าสู่สงครามโดยพกอาวุธเท่าที่มีไปสู้และคิดแต่ว่าทำก่อนค่อยว่ากัน เจอปัญหาค่อยๆแก้กันไป หลายบริษัทในอดีตใช้วิธีการนี้และสามารถรอดมาได้อย่างกล้าหาญหรือหวุดหวิดแต่ก็มีอีกจำนวนที่มากกว่าที่ล้มหายตายจากและกลายเป็นสิ่งที่ถูกลืม

"ยิ่งเป็น SMEs ต้องยิ่งคิดเยอะๆ" คำๆ ต้องคำนึงและใส่ใจเพราะ SMEs ของไทยเริ่มต้นด้วยงบประมาณจำกัด ทรัพยากรต่างๆ จำกัด การวางแผนหรือทำความเข้าใจก่อนการดำเนินธุรกิจจึงมีความสำคัญและจำเป็นที่ SMEs จะต้องพิจารณาและเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ

"แต่คิดเยอะก็เหนื่อย ก็ปวดหัว ท้อไม่อยากทำแล้ว" เป็นคำกล่าวที่ SMEs จำนวนมากพูดอยู่เสมอบางรายหยุดดำเนินธุรกิจทั้งๆ ที่พึ่งเริ่มต้นเพราะไม่อยากแบกรับปัญหา นั่นเป็นเรื่องของเขา แต่เมื่อคุณอ่านหน้านี้อยู่มันคือเรื่องของคุณ!!! เพราะคุณกำลังสนใจ! ดังนั้นในฐานะที่มีประสบการณ์ด้านการเป็นที่ปรึกษามาจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน ผมจะมอบเครื่องมือตัวหนึ่งให้คุณเอาไปคิดเอาไปใช้ เป็นเครื่องมือบริหารง่ายๆ ที่จะทำให้ธุรกิจคุณมีสภาพคล่องมากขึ้น ลงทุนได้ผล เห็นกำไรสามารถอดออม เป็นทุนหรือนำไปใช้ต่อยอด ธุรกิจจำนวนมากใช้หลักการนี้แล้วสำเร็จมากมายก็มี ดังนั้นคุณทำได้มันไม่ยากครับ เครื่องมือนั้นคือ "Cash-to-Cash Cycle" เป็นการบริหารการหมุนหรือวงจรของเงินสดที่ลงทุนไปจนกลับมาเป็นรายได้จากการขาย ยิ่งสั้นยิ่งดี หมายถึงมันหมุนรอบได้เร็วคุณได้เงินจากการลงทุนเร็ว แต่ในมุมมองของผมหมุนเร็วยิ่งดีจริง แต่จะดีกว่านี้ถ้าหมุนได้เร็วรอบการจ่ายเงินหรือการลงทุน ตรงนี้คือ Key Success Factor ที่แท้จริงของเครื่องมือนี้ครับ

ตัวอย่าง
กิจการหรือธุรกิจของคุณเป็นประเภทซื้อมาขายไป ถ้าคุณซื้อสินค้ามาวันที่ 1 มิย ขายสินค้านั้นได้วันที่ 3 มิย หมายความว่า สินค้าคุณมีรอบการหมุนแค่ 3 วัน ยอดเยี่ยมสุดๆ เพราะยิ่งคุณขายได้ไวเงินสดก็มาถึงมือไว ต้นทุนการจัดเก็บหรือความเสี่ยงในการเก็บรักษาก็ต่ำ นี่คือข้อดีขั้นแรก แต่จะดีกว่านี้ถ้าสินค้าที่คุณซื้อมาขายวันที่ 1 ยังไม่ต้องจ่ายชำระเงิน แต่ผู้ขาย หรือ Supplier ของคุณให้คุณชำระเงินหลังจากรับสินค้า 7 วันข้างหน้า นั่นหมายความว่าสินค้าของคุณไม่ต้องจ่ายเป็นเงินสดแต่คุณได้เงินเชื่อในการซื้อสินค้าแต่คุณนั้นขายสินค้าได้เงินสดมาแล้วในวันที่ 3 เหลือเวลาถึง 4 วันข้างหน้าเพื่อการชำระเงิน (วันที่ 4 5 6 7) 4 วันที่เหลือคุณทำอะไรกับมัน SMEs ทั่วไปก็แค่เอาเงินเข้าฝากออมทรัพย์ หรือฝากในกองทุนตราสารต่างๆ ที่ดอกอาจดีกว่าฝากประจำ แต่จะได้อะไรในเมื่อเงินจำนวนนั้นไม่ได้เยอะระดับหลายพันล้านที่จะเจรจากับธนาคารเพื่อขอดอกเบี้ยกรณีพิเศษ ธุรกิจที่ผมเป็นที่ปรึกษา เรานำเงินตรงนั้นไปลงทุนต่อยอด เช่น ไปซื้อหรือผลิตสินค้าเพิ่มที่รู้อยู่แล้วว่าตลาดหรือลูกค้าต้องสั่งซื้อจากเรา ซึ่งจะทำให้ Volume การซื้อหรือผลิตเพิ่มขึ้น อำนาจต่อรองของเราก็จะเยอะขึ้น ก่อให้เกิด Gap ที่จะสร้างกำไรขั้นต้นแบบง่ายๆ รวมไปถึงระยะเวลาการจ่ายเงินที่สามารถเจรจาให้ยาวขึ้น องค์กรเหล่านั้นจะมีเงินสดในมือซึ่งสำคัญที่สุดในการนำมาใช้จ่ายในองค์กร แต่สิ่งที่จะจ่ายไม่ใช่จ่ายค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายนะครับ ควรจ่ายค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ก่อนเป็นลำดับแรก เช่น การลงทุนในสินค้า การผลิต การขาย เป็นต้น ขณะที่ผมเคยพบ SMEs จำนวนหนึ่งที่ไมไ่ด้บริหารหลักการนี้เวลาซื้อสินค้าหรือผลิตจ่ายเงินสด ณ วันแรกสุด และตามเก็บเงินหลังจากขายได้ ร วันที่ขายหรือหลังจากนั้น 7 วัน 14 วัน ปัญหาที่พบคือ ผู้ประกอบการเหล่านั้นเหนื่อยอย่างมาก บ่นให้ผมฟังเสมอว่าเงินตรึงมือ หมุนรอบไม่ทัน ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบหรือขอสินเชื่อธนาคารเพื่อมาพยุงกิจการ ซึ่งแท้จริงแล้วเหตุการณ์แบบนี้เป็นความเสี่ยงที่สามารถทำให้ SMEs ล้มได้ทันที!!!

ดังนั้นหลักการที่ง่ายที่สุดคือ "ขายไวจ่ายช้า" คือ เทคนิคที่จะทำให้ SMEs มีเงินสดจำนวนมากในการหมุนต่อรอบชีวิตลมหายใจของธุรกิจและสร้างโอกาสในการเติบโตจากเงินสดก้อนนั้น


Comments

Popular posts from this blog

การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analysis)

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (Product Component)

Distribution Model