หนทางเอาชนะความท้าทายทางการตลาดสำหรับ SMEs

หนทางเอาชนะความท้าทายทางการตลาดสำหรับ SMEs

ผม, ดร.ปุญญภณ เทพประสิทธิ์ ได้มีโอกาสให้สัมภาษณ์ในบทความนี้ให้กับหนังสือพิมพ์ The Nation เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ไปทั่วโลก ทั้งนี้ใน Blog นี้ผมจะขอแปลไทยให้กับผู้อ่านโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับแนวทางหรือแนวคิดในการเอาชนะความท้าทายทางการตลาดในปัจจุบันและอนาคต (ที่มา: http://www.nationmultimedia.com/business/SMEs-told-of-ways-to-beat-marketing-challenges-30285918.html)

ภาพจาก: http://www.nationmultimedia.com/business/SMEs-told-of-ways-to-beat-marketing-challenges-30285918.html

ตลาดอาเซียนเต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่หลากหลายและรุนแรง ประกอบไปด้วยคู่แข่งขันจำนวนมากในภูมิภาคซึ่งมีความใกล้เคียงกันและยังมีคู่แข่งขันชั้นนำนอกภูมิภาคที่เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ SMEs แต่ละประเทศมีคุณค่าในการนำเสนอต่อลูกค้าที่หลากหลายและก็พร้อมที่จะเล่นงาน SMEs ไทยอย่างไม่เกรงกลัว

การเอาชนะความท้าทายของการตลาดอย่างแท้จริง ผู้ประกอบการ SMEs ต้องตอบคำถามที่ว่า เราจะเป็น Order Winner ได้อย่างไร ซึ่งหมายความว่าเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นที่ต้องการของตลาดและลูกค้าต้องการที่จะเลือกเรา

ผมได้นำเสนอ กุญแจแห่งความสำเร็จ หรือ Key Success Factors ไว้ 4 ประการ ได้แก่ 

1. วิสัยทัศน์ มีความจำเป็นที่จะต้องออกแบบให้มีความ Smart หรือทันสมัยใหม่ต่อยุคการแข่งขันในปัจจุบันและอนาคต เพราะวิสัยทัศน์ที่ดี ชัดเจนจะทำให้การขับเคลื่อนของธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ยาก เช่น วิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตรงนี้จะทำให้กระบวนการดำเนินงานทั้งหมดมีความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ตลอดจนการบริหารจัดการทำให้ได้รับการสนับสนุนจากลูกค้า

2. ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงวิกฤตและการแก้ไขปัญหา เนื่องจากในสภาพการแข่งขันของตลาดอาเซียนมีความสลับซับซ้อนและมีปัญหาด้านต่างๆ มาต่อเนื่องทั้งกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ สภาพสังคม เป็นต้น ความสามารถเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือตัดสินความเป็นผู้ประกอบการถึงการเข้าใจปัยหาและการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเชิงวิกฤตเพื่อนำไปสู่ทางออกของปัญหา 

3. การสร้างเครือข่าย ธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะในอาเซียนขาดความสามารถและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจเพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้และนวัตกรรมตลอดจนการเป็นพันธมิตรเพื่อเอาชนะอุปสรรคหรือคู่แข่งขันร่วมกัน เพราะการแข่งขันในปัจจุบันไม่ได้เป็นการแข่งขันแบบองค์กรต่อองค์กร แต่เป็นการแข่งขันในรูปแบบ Supply Chain กับ Supply Chain ที่เน้นแข่งขันกันอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการมีมิตรในการทำธุรกิจย่อมดีกว่าการโดดเดี่ยวตนเอง

4. พลเมืองธุรกิจ (Corporate Citizenship) แนวคิดที่ทันสมัยและเหมาะสมกับโลกในปัจจุบัน เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการสร้างการทำงาน การดำเนินการ การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีเพื่อสังคม การเป็นองค์กรตัวอย่างหรือการเป็นพลเมืองที่ดีให้กับสังคมที่ดำรงอยู่ คือ แนวคิดสำคัญที่ผลักดันธุรกิจให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของการแข่งขันมากกว่าการมองผลกำไร แต่เป็นการมองความยั่งยืน เพราะธุรกิจไม่ได้ตั้งอยู่เพียงปีหรือสองปี แต่ต้องก้าวไปสู่การเป็นธุรกิจอายุ 100 ปี การเป็นพลเมืองธุรกิจ จึงเป็นแนวคิดที่สำคัญและกำลังมาแรง โดยเฉพาะในปี 2020 ที่สหภาพยุโรปจะนำเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนมาเป็นกฎหมายตามยุทธ์ศาสตร์ EU Strategy 2020

องค์กรใดอย่างเป็น พลเมืองธุรกิจที่ดี ผมขอแนะนำโมเดลจากบริษัท MVP ที่ได้ศึกษาได้คือ MEST Model ประกอบไปด้วย Merit, Ethics, Safety, and Transparency หากปฏิบัติตาม MEST Model ย่อมทำให้องค์กรเกิด Social Responsibility กลายเป็น พลเมืองธุรกิจที่ดีได้อย่างยั่งยืน
,

Comments

Popular posts from this blog

การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analysis)

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (Product Component)

Distribution Model