SMEs ไทยไม่ใช่ไม่เก่งแต่ไม่มีโอกาสต่างหาก?

The Game Theory "Nash Equilibrium concept for SMEs"


            การจากไปของ John Nash ผู้คิดค้นทฤษฎี Nash Equilibrium หรือที่เรียกกันว่า จุดดุลยภาพของ Nash เมื่อวันที่ 26 May 2015 ทำให้ผมสนใจที่จะเขียนเปิดเผยเรื่องราว ของ SMEs ไทย และความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา ผู้บริหารภาครัฐหรือหน่วยงานระดับประเทศที่ข้องแวะกับนโยบายมหภาคส่วนใหญ่ที่ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ท่านพบว่า มองความต้องการของ SMEs คือแหล่งเงินทุน และความรู้หรือวิธีการทำงาน และจากประสบการณ์ในการทำงานกับบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของไทย จนกระทั่งมาบริหารบริษัทเอ็มวีพี พบว่าคำตอบนั้นยังไม่ครบถ้วนทั้งหมดสิ่งที่ SMEs ต้องการมากกว่าสิ่งใดคือ "โอกาสในการทำงาน" ยกตัวอยางเช่น โครงการของรัฐ เป็นการยากอย่างยิ่งที่ SMEs จะก้าวมารับงานภาครัฐ เพราะเกณฑ์และขั้นตอนการคัดเลือก ประเมิน หรือประมูลเอื้ออำนวยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ มีชื่อเสียง มีทุนหนา หรือมีผู้อุปถัมภ์ บริษัทเล็กอย่าง SMEs จึงแทบไม่เคบมีโอกาสเลยแม้แต่ครั้งเดียว
             เมื่อพิจารณาตรงนี้ ทฤษฎี Nash Equilibrium น่าสนใจที่จะนำมาปรับใช้ใน Game theory นี้ที่ฝั่งหนึ่งคือภาครัฐและฝั่งหนึ่งคือ SMEs โครงการใหญ่ๆ จำนวนมากถึงแม้บริษัทขนาดใหญ่ได้รับไปนั้นส่วนใหญ่มีการจ้าง Sub Contract เข้ามาทำงานรับช่วงต่อถึงแม้ในสัญญาจะระบุห้าใแต่ก็เป็นที่รู้กันและยอมรับได้ ตรงจุดนี้ในฐานะที่ปรึกษามองว่าถ้ารัฐแบ่งโคางการบางประเภทของแต่ละกระทรวง กรม กอง ออกมาเป็นการเฉพาะและให้ SMEs เข้ามารับงานต่างๆ ไป โดยภาครัฐประสานกับสถาบันการเงินโดยใช้สัญญาค้ำประกันเงินกู้ให้ไปดำเนินงาน SMEs เหล่านั้นจะได้รับโอกาสในการทำงานสร้างรายได้ให้กับตนเองในขณะที่ไม่ต้องกังวลว่าจะหาเงินจากที่ใดมาค้ำประกันสัญญางานหรือดำเนินการในช่วงเริ่มแรกก่อน คำถามตรงนี้เกิดขึ้นว่าแล้ว Nash Equilibrium เกิดขึ้นหรือยัง ตอบว่าเกิดขึ้นเรียบร้อย จุดดุลยภาพนี้ SMEs ได้งานได้เงินสร้างรายได้ รัฐได้งานโครงการแต่ผลประโยชน์ต่อมาคือ SMEs เข้มแข็งกลายเป็นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งใป้กับประเทศ เกิดการเสียภาษีสร้างรายได้ให้รัฐ นี่คือ Nash Equilibrium ของ SMEs กับรัฐบาล
             ถ้ารัฐบาลมุ่งมั่นจะสนับสนุนและสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการเชิงนโยบายต่อ SMEs อย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Comments

Popular posts from this blog

การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analysis)

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (Product Component)

Distribution Model