Distribution Model


จากภาพจะพบว่า การขายสินค้าจากจุด P ซึ่งมี 3 จุด ไปยังจุดบริโภคของลูกค้า C อีก 3 จุด ทำให้เกิดเส้นทางการกระจายสินค้า 3 X 3 = 9 เส้นทาง

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเส้นทางจะเกิดขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ขาย และจำนวนผู้บริโภค โดยใช้หลักการ P X C = จำนวนเส้นทางทั้งหมด ทั้งนี้การกระจายสินค้าในลักษณะนี้จะขาดการบูรณาการความร่วมมือ โดยมุ่งเน้นการดำเนินการกันเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกันทำให้เกิดต้นทุนด้านการขนส่งจำนวนมาก และใช้ยานพาหนะซึ่งเป็นสินทรัพย์อย่างไม่คุ้มค้า

ทั้งนี้หากมีการเพิ่มขึ้นของ P จาก 3 จุด เป็น 4 จุด ขณะที่จุดของผู้บริโภคเท่าเดิม จะทำให้ผลลัพธ์เส้นทางเปลี่ยนแปลงเป็น 4 X 3 = 12 เส้นทาง


ภาพนี้ได้แสดงรูปแบบการกระจายสินค้าแบบดั้งเดิมที่ต่างคนต่างๆ ทำ ทั้งนี้ในภาพนี้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือการเกิด Distribution Center เป็นศูนย์กลางที่ทำหน้าที่รับและกระจายสินค้าไปยังกลุ่มเปาหมาย ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นภายในองค์กร เช่น การมี Distribution Center เพื่อรวบรวมสินค้าจากโรงงานต่างๆ ขององค์กร หรือความร่วมมือกับภายนอกองค์กร เช่น ในประเทศญี่ปุ่น มีธุรกิจขนส่งจำนวนมากได้รวมตัวกันเพื่อลดต้นทุนการขนส่งด้วยการจัดตั้ง Distribution Center เพื่อใช้ในการดำเนินงานร่วมกัน ทำให้ลดเส้นทางการขนส่ง

จากภาพจะพบว่าเมื่อจัดตั้ง Distribution Center ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมการจากเดิมที่ P X C เปลี่ยนเป็น P + C ดังนั้นหากมีการจัดตั้ง Distribution Center จำนวนเส้นทางจะลดลงมาอยู่ที่ 3 + 3 = 6 เส้นทาง

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การลดเส้นทางที่ทำให้เกิดการลดต้นทุน และความซับซ้อนของการจัดการข้อมูล



สำหรับการออกแบบช่องทางการกระจายสินค้า จะมีกระบวนการออกแบบที่ได้ถูกหยิบยกนำมาใช้อ้างอิง โดยมีกระบวนการ ดังนี้

1. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของช่องทางการกระจายสินค้า
2. วิเคราะห์องค์กร คู่แข่งขัน และข้อจำกัดของสภาพแวดล้อม
3. วิเคราะห์งานที่จะเกิดขึ้นจากช่องทางการกระจายสินค้า
4. กำหนดความเป็นไปได้ของทางเลือก
5. ประเมินทางเลือก
6. การใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการกำหนดทางเลือก
7. เลือกช่องทางการกระจายสินค้าที่เหมาะสม


Comments

Popular posts from this blog

การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analysis)

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (Product Component)